คลินิกอายุรกรรม
คลินิกอายุรกรรม
ให้บริการด้่านการรักษาโรคอายุรกรรมทั่วไป เช่น โรคไข้หวัด โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน รวมถึงให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพต่างๆ เป็นต้น
โรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง คือภาวะที่มีแรงอัดดันปริมาณมากกระทำต่อผนังหลอดเลือดแดง ในขณะที่หัวใจสูบฉีดโลหิต โรคนี้มักไม่แสดงอาการจนกว่าเป็นมาก และอยู่ในระยะอันตราย ซึ่งเมื่อถึงขั้นดังกล่าวจะแสดงอาการปวดศีรษะ หน้ามืด มีเสียงในหูและหัวใจเต้นเร็ว ถ้าไม่ได้รับการควบคุม โรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดในสมองตีบ หรือไตวายได้ และอาจเป็นอันตราย ต่อดวงตาและอวัยวะอื่นๆ
ค่าปกติของความดันโลหิตขณะพักของผู้ใหญ่จะอ่านได้ประมาณ120/80 mm Hg ถ้าค่าความดันคงที่อยู่ในระดับ140/90 mm Hg หรือสูงกว่านี้ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งส่วนใหญ่โรคความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นในคนมักไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
โรคโลหิตจาง
ภาวะโลหิตจาง(Anemia) เป็นโรคเกี่ยวกับโลหิตที่พบบ่อยที่สุด มีหลายชนิด หากแยกตามกลไกการเกิดโรคจะแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆดังนี้
- กลุ่มที่เกิดจากร่างกายสร้างจำนวนเม็ดโลหิตแดงได้น้อย เช่น Aplastic Anemia
- กลุ่มที่เกิดการเม็ดเลือดแดงถูกทำลายมาก เช่น Hemolytic anemia
- กลุ่มที่เม็ดเลือดแดงถูกนำไปใช้ได้ไม่ปกติเช่น ไม่สามารถนำออกซิเจนไปสู่อวัยวะอื่นๆได้อย่างพอเพียง ซึ่งมักเกิดจากภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหาร และเเร่ธาตุต่างๆ เช่น Vitamine B, Folic or Iron Deficiency เป็นต้น
โลหิตจางชนิดที่พบบ่อยมีดังนี้
- ชนิดขาดธาตุเหล็ก(Iron Deficiency Anemia) ซึ่งพบมากที่สุดเกิดจากร่างกายขาดธาตุเหล็กทำให้ไม่เพียงพอในการสร้างฮีโมโกลบินอาจเกิดจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพอมีโรคลำไส้หรือเสียเลือดซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการมีประจำเดือนมากหรือมีการเสียโลหิตเรื้อรังจากสาเหตุอื่น
- ชนิดไขกระดูกบกพร่องหรืออะพลาสติก(Aplastic) เกิดเมื่อไขกระดูกไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดบางชนิดได้เพียงพอเช่นเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือดแต่เม็ดเลือดที่ผลิตได้จะมีลักษณะทั่วไปเป็นปกติสาเหตุที่เป็นไปได้คือมีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือมีเนื้องอกของต่อมไทมัสการได้รับรังสีและสารเคมีบางชนิดหรือเกิดภายหลังโรคติดเชื้อภาวะนี้อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ชนิดขาดกรดโฟลิก(Folic acid Deficiency Anemia) มักเป็นผลจากการขาดวิตามินบีซึ่งจำเป็นในการสร้างฮีโมโกลบินภาวะโลหิตจางชนิดนี้พบบ่อยในโรคพิษสุราและโรคลำไส้ซึ่งพบน้อยกว่า
- ชนิดเม็ดเลือดแดงแตกหรือฮีโมลิติก(Hemolytic Anemia) เกิดจากมีการทำลายเม็ดเลือดแดงเกินกว่าที่ร่างกายจะสร้างทันบางครั้งเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านเซลล์เม็ดเลือดแดง
- ชนิดขาดวิตามินบีหรือเพอร์นิเซียส(Pernicious Anemia) เกิดจากการขาดวิตามินบี12 เนื่องจากกระเพาะอาหารไม่สามารถสร้างสารที่จำเป็นในการดูดซึมวิตามินเข้าสู่กระแสโลหิต
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งสาเหตุแบ่งได้เป็น ภาวะที่ขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Type I) หรือ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน เป็นผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินลดลง จนทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ทำให้ระดับน้าตาลคงค้างอยู่ในเลือดเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ ที่พบได้บ่อย คือ ตา ไต และระบบประสาทเป็นต้น
โรคไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia)
ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงของระบบและ อวัยวะต่างๆในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะหลอดเลือดแข็งตัว(Atherosclerosis) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( Myocardia Infarction, MI) ซึ่งโรค MI นับเป็นโรคร้ายอีกชนิดหนึ่งที่คร่าชีวิตมนุษย์เราเป็นอันดับต้นๆ แม้จะดูน่ากลัวแต่ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูงสามารถควบคุมและป้องกันได้ไม่ยาก ถ้าสามารถทำได้จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหัวใจได้อย่างมาก
ชนิดของไขมันในเลือด ไขมันในเลือดที่สำคัญมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ไขมันโคเลสเตอรอล(Cholesterol) และไขมันไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride) โดยทั่วไปในการตรวจไขมันในเลือดจะตรวจสารต่างๆดังต่อไปนี้
- โคเลสเตอรอล(Cholesterol) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้ขึ้นเองจากตับและลำไส้ หรือได้รับจากสารอาหารที่รับประทานเข้าไป อาหารที่มาจากพืชจะไม่พบโคเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบ แต่จะพบมากในไขมันสัตว์ ปริมาณไขมันขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารโคเลสเตอรอลมีความสำคัญต่อร่างกาย โดยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง แต่ห้ามมีไขมันโคเลสเตอรอลมากเกินไป ก็จะเป็นโทษต่อร่างกายเช่นกัน ซึ่งไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ ทำให้เกิดเส้นเลือดแข็งตัวและการตีบตันของหลอดเลือด ในอนาคตจะเป็นช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณโคเลสเตอรอลและมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ ความอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น
เรายังแบ่งไขมันโคเลสเตอรอลได้ย่อยๆ อีกที่สำคัญ2 ชนิดคือ- เอชดีแอล(High density lipoprotein-HDL) มีหน้าที่ นำโครเลสเตอรอลจากกระแสเลือดไปทำลายที่ตับดังนั้นถ้าระดับHDLในเลือดสูงจะทำให้อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบน้อยลง HDL จะสูงได้จากการออกกำลังกายระดับปกติในเลือดผู้ชายมากกว่า40 มิลลิกรัม/ต่อเดซิลิตร ผู้หญิงมากกว่า50 มิลลิกรัม/ต่อเดซิลิตร
- แอลดีแอล (Low density lipoprotein-LDL) หากมีไขมันชนิดนี้ในเลือดสูงก็จะไปเกาะผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดพอกหนาขึ้นจนความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไปหลอดเลือดจะตีบแคบลงทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวกจึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบตันได้มาก ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน130 มิลลิกรัม/ต่อเดซิลิตร
- ไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride) เป็นไขมันชนิดหนึ่งเกิดจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายจากน้ำตาลและแป้งหรือจากอาหารที่รับประทานเข้าไป มีความสำคัญทางด้านโภชนาการหลายประการนับตั้งแต่ให้พลังงานช่วยในการดูดซึมวิตามินเอดีอีและเค ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องอยู่นานนอกจากนี้ร่างกายยังเก็บสะสมไตรกลีเซอไรด์ไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการอย่างไรก็ตามการมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงหรือพบว่าสูงในคนที่มี โคเลสเตอรอลสูงอยู่แล้วเชื่อว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบมากขึ้นระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร(ค่าปกติ50 – 150 mg/dl)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : โทร. 0-2806-8885-7 , 0-2106-3524
Line : @boonyavej